ทุนไทย-ไฟฟ้าพม่า จริยธรรมสิ่งแวดล้อม
ข่าวสด 20 ธันวาคม 2556
โครงการก่อสร้างเขื่อนจำนวนมากในลุ่มแม่น้ำโขงมีสาเหตุสำคัญมาจากข้ออ้างด้านความต้องการด้านพลังงานไฟฟ้าของประเทศในลุ่มแม่น้ำโขง โดยเฉพาะข้ออ้างด้านความต้องการไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของประเทศไทย เวียดนาม และจีน ในขณะที่ประเทศลาว พม่า และกัมพูชา ถูกประเมินว่าเป็นประเทศที่มีศักยภาพในการสร้างเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้า เพื่อส่งออกไปขายยังประเทศที่มีความต้องการไฟฟ้าสูง ซึ่งมีความก้าวหน้าในการพัฒนาเศรษฐกิจสูงกว่า
ตรรกะดังกล่าว หากฟังโดยผิวเผินก็ดูสมเหตุสมผลดี ประเทศที่ยากจนกว่าก็จะมีรายได้จากการขายกระแสไฟฟ้าที่จะนำมาพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ เช่น สร้างโรงเรียน โรงพยาบาล ฯลฯ หรือเป็นการหาเงินตราต่างประเทศ การลงทุน และการเติบโตทางเศรษฐกิจ และในด้านกลับกันประเทศที่ซื้อกระแสไฟฟ้า ก็จะได้ไฟฟ้าราคาถูกมาตอบสนองความต้องการในการพัฒนาเศรษฐกิจ และลดปัญหาสิ่งแวดล้อมและสังคมจากการสร้างเขื่อน หรือโรงไฟฟ้าในประเทศของตน
แต่เมื่อพิจารณาอย่างรอบคอบ ก็จะพบกับคำถามต่างๆ มากมาย เช่น มีความคุ้มค่าจริงหรือในการสร้างเขื่อนแต่ละเขื่อนเพื่อผลิตไฟฟ้าขาย? อะไรคือผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการสร้างเขื่อน ทั้งผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและด้านสังคม? อะไรคือความเสี่ยงของการลงทุนทั้งด้านการเมืองและด้านเศรษฐกิจ? ใครคือผู้รับผลกระทบ? ใครคือผู้รับความเสี่ยง? เป็นต้น
ในอดีตเรามักยอมรับกันโดยปริยายต่อข้ออ้างว่า หากไม่สร้างเขื่อนนี้ หรือ โรงไฟฟ้านั้น ไฟฟ้าจะตก หรือไฟฟ้าจะดับทั้งประเทศ และจะทำให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจมหาศาล แต่เราอาจไม่ได้ตั้งคำถามอย่างจริงจังว่า ข้ออ้างดังกล่าวว่า “เป็นความจริงหรือไม่?”
ข่าวสด 20 ธันวาคม 2556
โพสต์ทูเดย์ 21 ตุลาคม 2556
ASTVผู้จัดการ 18 ตุลาคม 2556
โพสต์ทูเดย์ 16 ตุลาคม 2556
กรุงเทพธุรกิจ 15 กรกฎาคม 2553
ประชาชาติธุรกิจ 1 กรกฎาคม 2553
ไทยโพสต์ 14 มีนาคม 2553
กรุงเทพธุรกิจ 22 กันยายน 2552
ประชาไท 9 กุมภาพันธ์ 2552
ประชาชาติธุรกิจ 5 มกราคม 2552