พบอาณาจักรโบราณ ที่ทวาย
ออกอากาศในรายการ ที่นี่ไทยพีบีเอส 19 มิถุนายน 2556
ในระยะหลายปีที่ผ่านมา รัฐบาลไทยและรัฐบาลสหภาพพม่าได้ร่วมมือผลักดันโครงการท่าเรือน้ำลึกทวายอย่างเป็นรูปธรรม โดยทั้งสองฝ่ายเห็นชอบที่จะพัฒนาเชื่อมโยงการคมนาคมขนส่งจากท่าเรือน้ำลึกทวายในประเทศพม่ากับท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบังของประเทศไทย โดยชูประเด็นผลประโยชน์ที่จะได้รับของทั้งสองประเทศ คือพม่าจะได้รับประโยชน์จากการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมทวาย ขณะที่ไทยจะได้รับประโยชน์จากการพัฒนาพื้นที่โครงการพัฒนาชายฝั่งด้านตะวันออก หรืออีสเทิร์นซีบอร์ด โดยมีเอกชนไทยคือ บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ริรเิ่มโครงการ ซึ่งได้รับสิทธิในการพัฒนาและดำเนินการบริหารโครงการทวาย ตามระยะเวลาการเช่าที่ดิน 75 ปี ในพื้นที่ 250 ตารางกิโลเมตร (กว่า 1.5 แสนไร่ หรือประมาณ 8 เท่าของนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด) รวมทั้งการก่อสร้างถนนเชื่อมโยงพรมแดนระหว่างไทย-พม่า โดยได้จัดตั้ง บริษัท ทวาย ดีเวล๊อปเม้นท์ จำกัด เพื่อดำเนินการวางแผนการพัฒนา
โครงการทวายมักถูกกล่าวถึงในมิติของผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจเป็นสำคัญ โดยที่มิติของทรัพยากร สิ่งแวดล้อม และวิถีชีวืตของประชาชนในพื้นที่ ยังไม่เป็นที่รับรู้กันมากนัก อีกทั้งการพัฒนาเขตนิคมอุตสาหกรรมซึ่งจะเป็นไปในลักษณะเดียวกับ 'นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด' ที่จังหวัดระยอง อันประกอบไปด้วยกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี โรงกลั่นน้ำมัน โรงแยกก๊าซ โรงไฟฟ้าถ่านหิน ฯลฯ จึงเป็นคำถามสำคัญว่า ทวายจะเป็นขุมทรัพย์แห่งใหม่ หรือจะเป็นเหยื่อรายต่อไปจากมาบตาพุด
ออกอากาศในรายการ ที่นี่ไทยพีบีเอส 19 มิถุนายน 2556
ออกอากาศในรายการ ที่นี่ไทยพีบีเอส 17 มิถุนายน 2556
4 มกราคม 2558 | ฐานเศรษฐกิจ
9 ตุลาคม 2557 | ไทยโพสต์
9 ตุลาคม 2557 | ไทยรัฐ
9 ตุลาคม 2557 เครือข่ายทวายเรียกร้องแก้ไขปัญหาสำคัญ ๆ ก่อนรื้อฟื้นโครงการทวาย
8 ตุลาคม 2557 | Transborder News
6 ตุลาคม 2557 | Dawei Watch Thailand | ประชาไท
ประชาไท 18 กันยายน 2556